การพัฒนา ของ ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส

การออกแบบ

ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์

แนวคิด ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม เริ่มขึ้นเมื่อ ทางบริษัททัตสึโนโกะได้เข้าเชิญให้แคปคอมร่วมพัฒนาเกมโดยให้ตัวละครที่มีอยู่ เรียวตะ นิตสุมะถึงกับรู้สึกตื่นเต้นกับการผลิตเกมต่อสู้นี้ขึ้นมา ในขณะที่ผู้จัดทำเองก็คิดว่ามันเหมาะสมมากกว่าด้วยซ้ำที่ตัวละครของทัตสึโนโกะจะกลายเป็นเกม Vs. ที่น่าสนใจยิ่งกว่าสตรีทไฟท์เตอร์[33] แคปคอมประกาศว่านี่เป็นเกมลำดับที่เจ็ดของเกมต่อสู้ซีรีส์ Vs. โดยให้ชื่อว่า ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชั่นออฟฮีโร่ส์ (Tatsunoko vs. Capcom: Cross Generation of Heroes) สำหรับระบบอาเขตของญี่ปุ่น โดยในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 เกมได้สร้างเสร็จไปแล้วประมาณ 70% และได้ประกาศว่าจะใช้สำหรับเครื่องวี ในญี่ปุ่น[34] การเลือกตัวละครโดยทีมพัฒนาเป็นไปอย่างรอบคอบจนเป็นที่น่าพอใจสำหรับเกมต่อสู้ โดยการเลือกตัวละครในฝั่งทัตสึโนโกะได้มาจากกลุ่มคนหนุ่มสาวที่อยู่ในแต่ละสังกัด[35] ซึ่งทางแคปคอมได้ปิดไว้เป็นความลับเกี่ยวกับการเลือกตัวละครนี้ก่อนถึงเวลาวางจำหน่าย[36][37]

เกมมีระบบการควบคุมที่แตกต่างจากซีรีส์สตรีทไฟท์เตอร์กับเกมต่อสู้ทั้งหลายที่มีอยู่แต่ก่อน การควบคุมอาศัยสามปุ่มควบคุมการโจมตี (เบา, กลาง, หนัก) ซึ่งมีตั้งแต่การพัฒนาสำหรับระบบวีโดยคำนึงถึงความเป็นเกมต่อสู้ รวมถึงความสามารถในการใช้ท่าไม้ตาย และการควบคุมแบบทั่วไปเป็นสำคัญ[38] ในช่วงต้นของการสร้างเกมได้ประกอบเทคนิคการต้าน "แอสเซาส์", โดยบางส่วนได้รวมตัวกันกลายเป็นเทคนิคเมก้าแครชเข้ามาแทนที่[7] ซึ่งการใช้เมก้าแครชนี้อาจนับได้ว่าเป็นการใช้เทคนิคแอสเซาส์รูปแบบหนึ่ง[6]

ความที่ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีกราฟิกลักษณะพิเศษที่เหมาะกับเครื่องวีโดยเฉพาะ อาจทำให้การผลิตเกมนี้สำหรับเครื่องคอนโซลอื่นจำเป็นต้องสร้างเกมนี้ขึ้นมาใหม่อย่างละเอียดสำหรับคอนโซลนั้น ๆ ตามที่ทางผู้ผลิตได้วางแผนไว้ในเบื้องต้น และแคปคอมจะเพิ่มการวัดผลสำรวจถึงกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้ด้วย[39] พวกเขาคิดว่าเหล่าเกมเมอร์คงจะลงทุนซื้อ อาเขตจอยสติ๊ก (จอยโยก) มาใช้เล่นในเกมนี้[30]

เมื่อได้ทำการคัดเลือกตัวละคร ทีมพัฒนาต่างมีอิสระที่จะเลือกรูปแบบที่ต้องการเห็นในเกมต่อสู้ ตัวอย่างเช่น การเลือกตัวละครในช่วงท้ายก็ให้กลุ่มเยาวชนในสังกัดของพวกเขาได้ช่วยดู[35] อย่างไรก็ตาม ทีมงานก็ได้พบกับข้อจำกัดในการคัดเลือกจากรายชื่อของฝั่งทัตสึโนโกะ โดยระบุว่าได้พิจารณาถึงเรื่องการมอบสิทธิ์ ซึ่งเรียวตะ นิตสุมะได้อธิบายไว้ว่า "ครั้งหนึ่งเรามีรายชื่อที่ทีมงานต้องคิดให้ออกว่าจะทำให้เกิดความสมดุลกับลักษณะของเกมต่อสู้ได้อย่างไร ในเบื้องต้นเราต้องการความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างตัวละครชายกับหญิง" และยังได้เน้นไปยังตัวละครหลักไม่น้อยไปกว่าเหล่าวายร้าย บางตัวละครไม่ได้รับการอนุมัติจากทัตสึโนโกะโปรดักชัน ด้วยเหตุผลที่ไม่เคยอธิบายให้ทางแคปคอมได้รับรู้ โดยเรียวตะ นิตสุมะ กล่าวว่า"เราไม่ล้วงถึงความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินการของพวกเขา พวกเขาไม่ได้ให้เหตุผลกับพวกเรามากนัก เมื่อพวกเขากล่าวว่าไม่ และเราถามว่าทำไม พวกเขาก็ไม่บอกเราอยู่ดี แต่เขาก็ให้เราเสนอข้อแนะนำอื่นได้" โดยตัวละครจากการ์ตูนชุดเจเนซิสคลิมเบอร์ มอสปีดา และสามเหมียวยอดนินจา ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ได้รับการเรียกร้องมากที่สุดจากแฟน ๆ ได้ขาดหายไป[40]

ฉาก

ฉากที่ปรากฏในทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม มีการจำลองรูปฉากที่ปรากฏในวิดีโอเกมของแคปคอม รวมทั้งมีการจำลองรูปแบบฉากที่ปรากฏในการ์ตูนของทัตสึโนโกะ เช่น เมืองลับแลจีน เป็นฉากหมู่บ้านที่อยู่หลังหุบเขาซึ่งจำลองมาจากฉากเกมสตรีทไฟท์เตอร์, เรือบิน เป็นฉากภายในเรือบินลอยฟ้าลำใหญ่จากเกมร็อคแมนแดช, โบราณสถานพินาศ เป็นฉากซากอาคารแบบตะวันตกที่ถูกทำลายจากซีรีส์แคชเชิร์นโรบอท เป็นต้น

การรองรับในภาษาอื่น

เดิมที ทางแคปคอมไม่ได้ตั้งใจที่จะวางจำหน่าย ทัตสึโกะ vs. แคปคอม: ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ออกนอกประเทศญี่ปุ่น แต่จากการตอบรับของแฟนเกมส่งผลให้ทางแคปคอมต้องพยายามร้องขอนำลิขสิทธิ์ตัวละครของทัตสึโนโกะไปทำเป็นเวอร์ชันต่างประเทศ ทว่า จากการคำนวณหลายประการของทัตสึโนโกะคิดว่าคงไม่เหมาะที่จะไปปรากฏอยู่ในฝั่งอเมริกาเหนือ อย่างเช่น ไทม์ วอร์เนอร์[35][41] เรียวตะ นิตสุมะ ได้อ้างถึงการดำเนินสิทธิในการครอบครองตัวละครค่อนข้างยากลำบากและซับซ้อน สำหรับแต่ละตัวละครในช่วงเวลาต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้มีกระบวนการจัดทำแยกในแต่ละส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะ โดยสิ่งที่ได้ปรับแก้ในอเมริกาก็มีการตรวจจัดทำในยุโรปเช่นกัน[30] และในส่วนอื่นก็มีความเป็นไปได้ของ Eighting ซึ่งเป็นนักพัฒนาที่ทางแคปคอมได้ว่าจ้างไว้ว่ายุ่งกับโครงการอื่นอยู่หรือไม่[1] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 คริสเตียน สเวนสัน รองประธานฝ่ายพัฒนาธุรกิจและแผนกลยุทธ์ของแคปคอมได้กล่าวเน้นว่า "จะไม่มีการออกกฎตายตัว" และทางบริษัทได้พยายามดำเนินการด้านลิขสิทธิ์และทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนี้อย่างเต็มที่[1] และฉากจบของตัวละครได้ถูกวาดใหม่โดย UDON ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สร้างหนังสือคอมิกส์ในสหรัฐอเมริกา โดยใช้แทนที่ฉากจบอนิเมทที่มีอยู่เดิม[42]

ทีมพัฒนาได้ค้นหาตัวละครอย่าง ฟีนิกซ์ ไวร์ท กับ ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า จากเกม แอซ แอททอร์นนี่ (หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "เกมทนาย") ให้มาอยู่ในเกม ซึ่ง ฟรานซิสก้า วอง การ์ม่า นั้นทำได้ง่ายเพราะเธอใช้แส้ สำหรับ ฟีนิกซ์ พวกเขาได้หาท่าทางการต่อสู้ที่นอกเหนือไปจากท่าชี้นิ้วสั่งการ อย่างไรก็ตาม แม้พวกเขาจะได้ท่าโจมตีด้วยวลีเด็ดที่ว่า"อิกิอาริ!"(ซึ่งหมายถึง "คัดค้าน!") โดยใช้ถ้อยอักษรในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม เขาพบว่าต้องเปลี่ยนตัวอักษรคันจิสี่ตัว มาเป็นตัวอักษรสิบตัวในภาษาอื่น ซึ่งแลดูไม่ค่อยสมดุลในเกมเท่าใดนัก[43]

การโฆษณาประชาสัมพันธ์

เรียวตะ นิตสุมะ ผู้เคยร่วมงานในสตรีทไฟท์เตอร์ IV กำลังให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อในฐานะของเกมโปรดิวเซอร์[44]

ทางแคปคอมได้ลงรายการ "เกมลับ" 2 เกมในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน อิเล็คทรอนิกส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ เอกซ์โป 2009 (E3 2009) [45] "เกมลับแคปคอม #1" ได้เปิดเผยในนิตยสาร นินเทนโดพาวเวอร์ ว่าจะให้ชื่อซับไตเติลของ ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ในโซนอเมริกาเหนือกับยุโรปว่า "อัลติเมตออล-สตาร์ส" ซึ่งสามารถเล่นได้ที่บูธของบริษัท[46] ส่วนการวางจำหน่ายในโซนยุโรปและออสเตรเลียได้มีประกาศในภายหลัง[47] ทางแคปคอมได้เน้นย้ำว่าจะวางจำหน่ายเกมเวอร์ชันนี้ในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2009 ในอเมริกาเหนือ โดยมีมินิเกมที่หลากหลาย, การเสริมระดับของสตอรี่โหมด และระบบไว-ไฟที่รองรับการเล่นเกมแบบออนไลน์ได้ นอกจากนี้ รายชื่อตัวละครได้เพิ่มมาอีกห้าตัว แต่ตัวละครจากทัตสึโนโกะหนึ่งตัวซึ่งได้แก่ ฮาคุชอน ไดเมียว จะหายไป[48] อย่างไรก็ตาม ทางแคปคอมได้เข้ามาแก้ไขข่าวประชาสัมพันธ์ในภายหลัง เนื่องจากไม่ถูกต้องและได้กล่าวว่าพวกเขาต่าง "เฝ้ามองการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ในเกม รวมทั้งเป็นไปได้ที่จะเพิ่มอีกหลายตัวละครจากทั้งฝั่งแคปคอมและทัตสึโนโกะ และมีการสำรวจหาทางเลือกสำหรับการเล่นเกมออนไลน์"[49][50]

ฮิเดโตชิ อิชิซาว่า ซึ่งเป็นผู้กำกับได้ยอมรับว่า เช่นเดียวกับที่ ครอสเจนเนอเรชันออฟฮีโร่ส์ ซึ่งไม่ได้วางแผนไว้ในขั้นแรกว่าจะวางจำหน่ายในต่างประเทศ และฉบับ อัลติเมตออล-สตาร์ส ก็ได้ไม่ได้วางแผนไว้สำหรับจำหน่ายในญี่ปุ่น จากการเรียกร้องของแฟนเกมและทีมวิจัยและพัฒนาในท้ายที่สุดผลก็ได้ดังหวัง มีการประกาศว่าเกมฉบับดังกล่าวได้ปรับปรุงให้สามารถวางขายในฝั่งญี่ปุ่นได้[2] ในช่วงต้นของงาน 2009 โตเกียวเกมโชว์ ทางแคปคอมได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเป็นระยะๆเกี่ยวกับสิ่งใหม่ แม้ว่าจะมีข่าวรั่วไหลจากสำนักงานของญี่ปุ่นในโค้ดจาวาสคริปต์ออกมาให้เห็นอยู่ก่อนก็ตาม[32][51] ตัวละครแทบทุกตัวที่สามารถเล่นได้ในระบบวีฉบับดั้งเดิม ก็สามารถเลือกเล่นได้ในเกมชุดใหม่นี้ด้วย โดยยกเว้นเพียงฮาคุชอน ไดเมียว รายเดียวเท่านั้น[30]

ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับระบบวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของกราฟิกที่เป็นตัวยับยั้งการแปลงเกมสู่ระบบอื่นโดยปราศจากการสร้างเกมขึ้นมาใหม่[52] เกมได้รับการพัฒนาสำหรับระบบวีตั้งแต่ทางผู้ผลิตต้องการให้แต่ละระบบคอนโซลได้มีเกมต่อสู้[40] ทางผู้ผลิตได้แนะนำถึงผลสืบเนื่องที่มีความเหมาะสมมากกว่าเดิม และแคปคอมได้วัดกระแสตอบรับที่มีต่อตัวเกมสำหรับระบบวีนี้เป็นครั้งแรก[52] พวกเขาคิดว่าถ้าเหล่าเกมเมอร์ลงทุนซื้ออาเขตสติ๊กสำหรับใช้กับเกมนี้ ซึ่งมันอาจถือได้ว่าเป็น "การสร้างความเสียหายสำหรับแฟนเกม" ที่จะไม่ผลิตเกมเพิ่มเติม[30] เซธ คิลเลี่ยน ซึ่งเป็นผู้จัดการชุมชนของแคปคอมได้เน้นย้ำว่าหากเกมได้รับการต้อนรับจากแฟนเกมเช่นเดียวกันนั้น ก็จะมีการแปลงเกมเป็นภาษาท้องถิ่นสำหรับเกมในโครงการอื่นด้วยเช่นกัน[53]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทัตสึโนโกะ vs. แคปคอม: อัลติเมตออล-สตาร์ส http://www.1up.com/do/newsStory?cId=3171619 http://www.andriasang.com/e/blog/2010/01/12/tatsun... http://capcom-unity.com/s-kill/blog/2009/06/23/tat... http://www.capcom-unity.com/grant008/blog/2010/01/... http://www.capcom-unity.com/jgonzo/blog/2009/09/23... http://www.capcom-unity.com/jgonzo/blog/2010/01/08... http://www.capcom-unity.com/kramez/blog/2009/05/06... http://www.capcom-unity.com/kramez/blog/2009/05/18... http://www.capcom-unity.com/s-kill/blog/2009/09/17... http://www.capcom-unity.com/s-kill/blog/2009/12/18...